วันอาทิตย์ที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2559

ยูนิคอร์น (Unicorn)

ยูนิคอร์น (Unicorn)




ยูนิคอร์น (Unicorn) เป็นหนึ่งในสัตว์ในตำนานที่พบได้ในป่าทางตอนเหนือของทวีปยุโรป ลักษณะตัวโตเต็มวัยของยูนิคอร์นจะมีเป็นม้าที่มีสีขาวบริสุทธิ์ มีสง่า มีเขาเกลียวที่กลางหน้าผากหนึ่งเขา  ส่วนยูนิคอร์นแรกเกิดจะมีลักษณะเป็นลูกม้าที่ขนสีทอง เส้นขนจะเปลี่ยนเป็นสีเงินในช่วงก่อนที่จะเจริญเติบโตเต็มวัย เชื่อวันว่าส่วนของ เขา เลือด และขนยูนิคอร์น เป็นที่ต้องการของมนุษย์เป็นอย่างมาก เนื่องจากมีคุณสมบัติทางเวทมนตร์สูง
โดยทั่วไป ยูนิคอร์นจะพยายามไม่ยุ่งเกี่ยวกับมนุษย์ แต่จะยอมให้แม่มดที่เป็นเพศหญิงเข้าใกล้ได้มากกว่าพ่อมดที่เป็นเพศชาย ยูนิคอร์นเป็นสัตวฺที่ว่องไว วิ่งได้อย่างรวดเร็ว และยากต่อการจับตัว ชาวตะวันตกเชื่อกันว่า ยูนิคอร์นเป็นสัตว์ที่ดุร้ายและรักความสันโดษ หากต้องการจะจับยูนิคอร์น ชาวยุโรปกล่าวไว้ว่าจะต้องใช้หญิงสาวพรหมจรรย์ที่ยังบริสุทธ์เท่านั้นในการจับยูนิคอร์น ซึ่งจะทำให้ยูนิคอร์นสงบสงี่ยมและเชื่องอย่างกับเป็นม้าธรรมดา และลืมสัญชาตญาณความป่าเถื่อนในการเป็นสัตว์ป่าไปเลย
ยูนิคอร์นถูกกล่าวถึงครั้งแรกในโลกตะวันตกเมื่อประมาณ พ.ศ. 14 โดยหนังสือของชาวอินเดีย ซึ่งแต่งโดยนักประวัติศาสตร์ชาวกรีก หนังสือมีเนื้อความตอนหนึ่งว่า ในประเทศอินเดีย มีลาป่าชนิดหนึ่งซึ่งมีขนาดรูปร่างใหญ่พอ ๆ กับม้า แต่ลำตัวของพวกมันมีสีขาว ศีรษะสีแดงเข้ม ดวงตาสีน้ำเงิน และมีเขากลางหน้าผากหนึ่งเขา เขานี้ยาวประมาณครึ่งเมตรอีกทั้งยังกล่าวกันด้วยว่า ยูนิคอร์น เป็นสัตว์ที่ผสมระหว่างสัตว์หลายชนิด ได้แก่ แรด ละมั่งหิมาลัย และลาป่า เขาของยูนิคอร์นแหลมคมเป็นอย่างมาก โดยจะมีพื้นสีขาวตรงกลางสีดำ และมียอดเป็นสีแดงเลือดหมู

ยูนิคอร์น ถูกสร้างความหมายเพื่อบ่งบอกถึงสิ่งต่างๆมากมาย เขาของยูนิคอร์นถือเป็นสัญลักษณ์แห่งพลังอำนาจ ความเข้มแข็ง และความเป็นลูกผู้ชาย ในขณะที่บางตำนาน ก็กล่าวถึงยูนิคอร์นว่าเป็นสัญลักษณ์แห่งความสะอาดบริสุทธิ์  ส่วนบางตำนานก็เชื่อว่า ยูนิคอร์นเป็นสัญลักษณ์ที่เชื่อมโยงระหว่างเพศหญิงและเพศชาย โดยเขาจะเป็นตัวแทนของเพศชาย ส่วนลำตัวจะเป็นตัวแทนของเพศหญิง ชื่อทางภาษาจีนของยูนิคอร์น จึงมีชื่อว่า ki-lin ซึ่งมีความหมายว่า ผู้ชาย-ผู้หญิง นั่นเอง


cr.http://www.tumnandd.com/

แพนโดร่า (Pandora) กล่องแห่งความลับ

แพนโดร่า (Pandora) กล่องแห่งความลับ



ชาวกรีกมีความเชื่อแต่โบราณว่า มนุษย์นั้นถูกสร้างขึ้นมาจากฝีมือของเทพเจ้าที่มีชื่อว่า โพรเมทิอัสโดยมนุษย์ยุคแรกที่เทพเจ้าสร้างขึ้นมาทีแต่เพียวเพศชายเพศเดียว ซึ่งถือเป็นผลงานที่ทวยเทพต่างพอใจ เทพซีอุสได้ให้เทพโพรเมทิอัสช่วยสั่งสอนให้มนุษย์รู้จักเคารพในเทพเจ้า และทำให้พวกเขารู้จักการทำเครื่องสักการะบูชา เทพโพรเมทิอัสคิดว่า ถ้ามนุษย์ใช้เนื้อสัตว์เพื่อทำการบูชาสังเวยต่อเทพเจ้าจนหมด ก็คงจะไม่มีอะไรเหลือให้มนุษย์เก็บไว้รับประทาน ด้วยเหตุนี้ เทพโพรเมทิอัสจึงสอนอุบายให้แก่มนุษย์ โดยการแบ่งเนื้อวัวเป็นสองกอง โดยกองหนึ่งเป็นเพียงโครงกระดูกที่ปิดหน้าด้วยไขมัน ในขณะที่ อีกกองหนึ่งเป็นเนื้อล้วนๆแต่ใช้เครื่องในอำพรางไว้ เมื่อเทพซีอุสเห็นเข้า ก็หลงอุบายและเลือกกองที่มีแต่โครงกระดูก เพราะคิดเอาเองว่าภายในจะซ่อนเนื้อวัวไว้ แต่เมื่อไม่พบ ก็ทรงพิโรธเทพโพรเมทิอัสเป็นอย่างมาก รวมกับคดีครั้งก่อนที่เทพโพรเมทิอัสได้ขโมยไฟสวรรค์ไป พระองค์จึงลงโทษเทพโพรเมทิอัส โดยการจับตรึงเอาไว้กับเทือกเขาคอเคซัค และปล่อยให้เหยี่ยวบินมาแทะกินตับของเทพโพรเมทิอัสในทุกวัน แต่พระองค์ก็จะไม่ตายในทันที และต้องทนทุกข์ทรมานต่อไปเรื่อยๆ
หลังจากที่เทพซีอุสได้ลงทัณฑ์เทพโพรเมทิอัสเรียบร้อยแล้ว ก็ไม่ลืมที่จะเล่นงานมนุษย์ด้วยข้อหาที่เห็นดีเห็นงามด้วย พระองค์ได้รวมตัวกับเหล่าเทพเจ้า เพื่อสร้างมนุษย์เพศหญิงขึ้นมา และให้ชื่อว่า แพนโดร่าซึ่งการสร้างมนุษย์ผู้นี้ได้รับความร่วมมือจากเหล่าเทพเจ้า ดังต่อไปนี้

1. เทพฮีฟีสทัส เป็นผู้ปั้นรูปมนุษย์ที่เลียนแบบเทพเจ้าเพศหญิง
2. เทพีอธีน่า ประทานพรให้มีสติปัญญาเฉลียวฉลาด
3. เทพีอะโฟรไดทิ ประทานพรให้มีความงามและเสน่ห์
4. เทพเฮอร์เมส ประทานชีวิตจิตใจ
5. เทพซีอุส ประทานความอยากรู้อยากเห็น

หลังจากที่ทวยเทพต่างประทานสิ่งต่างๆเพื่อสร้างเป็นมนุษย์เพศหญิงคนแรกขึ้นมาอย่างเสร็จสมบูรณ์แล้ว เทพซีอุสก็ทรงพอพระทัยเป็นอย่างมาก และทรงมอบกล่องใบหนึ่งให้แก่แพนโดร่าพร้อมกำชับว่าไม่ให้เปิดกล่องใบนี้ออกดูเป็นอันขาด จากนั้น เทพเฮอร์เมสก็นำแพนโดร่ากลับมาสู่โลก และส่งมอบของขวัญชิ้นนี้ให้ไปเป็นชายาของเทพเอพิเมทิอัส ซึ่งเทพเอพิเมทิอัสก็ทรงรับไว้ด้วยความยินดี แม้ว่าพระองค์จะเคยถูกเทพโพรเมทิอัสกล่าวเตือนไว้แล้วว่า ห้ามรับของจากเทพเจ้าองค์นี้โดยเด็ดขาด แต่ด้วยเพราะหลงในเสน่ห์และความงามของแพนโดร่า ทำให้เทพเอพิเมทิอัสทรงลืมและรับนางมาด้วยความเต็มใจ ในที่สุด ทั้งสองก็ได้ครองรักกันและให้กำเนิดบุตรออกมามากมายทั้งชายและหญิง สืบเผ่าพันธุ์ขยายลูกขยายหลานของมนุษย์ออกไปเรื่อยๆ

จนถึงวันที่เหล่าทวยเทพรอคอย ในตอนนั้น แพนโดร่าเริ่มมีความอยากรู้อยากเห็นอย่างเต็มเปี่ยม ทำให้นางเกิดความสงสัยว่ากล่องที่ได้รับมานั้นคืออะไร ด้วยความอยากรู้ นางจึงตัดสินใจเปิดกล่องออกมาดูด้วยความสงสัย เมื่อฝากล่องเปิดขึ้นมา ความยินดีที่คิดว่าจะได้รับของมีค่าจากสรวงสวรรค์ก็มลายหายไป และกลับพบเพียงความหายนะและความวิบัติที่เทพเจ้ามอบมาในกล่องเพื่อเป็นชองขวัญเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็น ความเกลียดชัง ความโกรธ แค้น ความพยาบาท ความโลภ ความหลง โรคภัยไข้เจ็บต่างๆ และความตาย ต่างพวยพุ่งกระจายไปทั่วทุกทิศทุกทางและซึมซาบเข้าไปสู่มนุษย์ทุกคน จนในที่วุด มนุษย์ก็กลายเป็นคนเลวที่เต็มไปด้วยความโกรธ  เกลียด ชิงชัง อาฆาตแค้น โรคภัยไข้เจ็บ และปิดชีวิตด้วยความตาย อย่างไรก็ตาม แพนโดร่าก็ยังสามารถปิดกล่องใบนั้นได้ทัน ทำให้ยังคงมีบางสิ่งที่กล่องใบนั้นยังคงหลงเหลืออยู่ หรือที่เราเรียกกันว่า ความสิ้นหวัง นั่นเองที่ยังไม่ได้มีโอกาสหลุดออกมาซึมซาบเข้าสู่มนุษย์ ดังนั้น มนุษย์จึงยังคงดำรงชีวิตอยู่ได้ต่อไปด้วยความหวังดังที่เป็นอยู่ในทุกๆวันนี้นี้เอง


cr.http://www.tumnandd.com/

เทพอีรอส (Eros) หรือ Cupid เทพแห่งความรัก


เทพอีรอส (Eros) หรือ Cupid เทพแห่งความรัก





จากที่กล่าวมาก่อนแล้วว่า เทวีอโฟร์ไดท์มีบุตรธิดากับเทพเอเรสถึง 3 องค์ โดยนางเฮอร์โมไอนีได้อภิเษกสมรสกับแคดมัสผู้เป็นเจ้าเมืองธีบส์ ส่วนคิวพิดก็เป็นกามเทพของชาวโรมัน หรือที่ชาวกรีกเรียกว่า อีรอส  แต่อีรอสหรือคิวพิดที่เป็นบุตรของอโฟร์ไดท์กับเอเรสนี้ ถือเป็นคนละองค์กับอีรอสที่เกิดขึ้นเมื่อครั้งสร้างโลก ดังนั้น หากเป็นอีรอสที่กล่าวถึงโดยทั่ว ๆไป ก็มักจะหมายความถึงอีรอสที่เป็นบุตรของอโฟร์ไดท์กับเอเรสองค์นี้เกือบจะตลอด
อีรอส ถือเป็นเทพบุตรรูปงามที่สุดองค์หนึ่งในบรรดาเทพทั้งหลายไม่แตกต่างจากเทพอพอลโลเสียเท่าไร   ปรัชญาเมธีเพลโตได้กล่าวเปรียบเปรยเกี่ยวกับเทพองค์นี้ไว้ว่า แม้ว่า กามเทพอีรอสจะเข้าไปในหัวใจของคนได้ก็จริง แต่ก็ไม่สามารถเข้าไปในทุกหัวใจของคนได้ เนื่องด้วยเหตุผลที่ว่าด้วยความแข็งกระด้างเธอที่ทำให้เกียรติคุณอันดีงามของเธอหายไป เธอจะไม่ยอมให้ผู้ใดทำผิด และแม้จะใช้กำลังบังคับก็ไม่สามารถจะล้มเธอลงได้
นักกวีชาวกรีกในอดีตไม่ได้แต่งตำนานของเทพอีรอสผู้นี้ขึ้นมา แต่ตำนานดังกล่าวถูกกวีฮีสิออดเป็นผู้แต่งขึ้นมาให้ แต่ก็พบว่าไม่ใช่อีรอสที่เป็นโอรสของเทวีอโฟร์ไดท์เลย แต่เป็นเพียงแค่เพื่อนกันเท่านั้น ดังนั้น ตำนานของเทพอีรอสจึงมีนักกวีชาวโรมันที่เป็นผู้แต่งเรื่องราวขึ้นมา และทำให้พบว่ามีเพียงเฉพาะตำนานของโรมันเท่านั้นที่มีการกล่าวถึงเรื่องราวของเทพอีรอสองค์นี้
ตำนานมักพูกไปในทางเดียวกันว่า เทพอีรอสเป็นเทพที่ติดมารดามากที่สุด หากพบเทวีอโฟร์ไดท์อยู่ที่ใด ก็มักจะพบอีรอสปรากฏตัวอยู่ที่แห่งนั้นด้วย ซึ่เปรียบเสมือนการคู่กันของความงามและกามวิสัยนั่นเอง โดยอีรอส เปรียบเสมือนลูกศรแห่งกามฉันท์รวมกันกับคันธนูน้อยที่เป็นอาวุธ ซึ่งมีไว้สำหรับยิงปักหัวใจของเทพและมนุษย์ทั้งหลายให้ต่างมีความปรารถนาอันเร่าร้อนไปด้วยความรักพิศวาส โดยจะเห็นได้ว่าชั้นเดิมของอีรอสจะเป็นเด็กวัยเยาว์อยู่เสมอ และไม่มีทางได้เติบโตเป็นผู้ใหญ่เลย ดังนั้น อีรอสจึงต้องมีเพื่อนเล่นและบริวารเป็นเทพองค์น้อยอีกองค์ ที่มีชื่อเรียกกันว่า แอนทีรอส

ตำนานการกำเนิดของแอนทีรอส มีเรื่องเล่าไว้ดังต่อไปนี้
เมื่อเห็นว่าอีรอสไม่มีท่าทีที่จะเจริญวัยมากขึ้นเสียที อโฟรไดท์จึงกล่าวปรารภกับธีมิสผู้เป็นเทวีแห่งความยุติธรรมว่า เธอจะต้องเลี้ยงดูบุตรอีรอสของเธออย่างไร จึงจะทำให้อีรอสเจริญเติบโตมากขึ้นได้ ธีมิสจุงได้ชี้แจงไปว่า เหตุผลที่อีรอสไม่โตไปกว่านี้ ก็เพราะอีรอสขาดเพื่อนเล่นแก้เหงา หากนางสามารถมีน้องให้แก่อีรอสสักองค์หนึ่ง อีรอสก็คงจะโตขึ้นได้อีกมาก และต่อจากนั้นในไม่ช้าแอนทีรอสก็บังเกิดขึ้น ทำให้อีรอสเจริญเติบโตแข็งแรงขึ้นอย่างรวดเร็วผิดจากแต่เดิมเป็นอย่างมาก (อย่างไรก็ตาม เราจะยังคงเห็นว่าคิวพิดหรืออีรอสที่เป็นภาพเขียนหรือแกะสลักก็ยังปรากฎตัวในรูปที่เป็นเด็กเสียมากกว่า) ซึ่งนอกจากแอนทีรอสจะมีหน้าที่เป็นเพื่อนเล่นของอีรอสแล้ว แอนทีรอสยังถือเป็นเทพบันดาลให้เกิดมีการรักตอบด้วย
เรื่องต่อไปนี้จะเล่าถึงความสัมพันธ์ของอีรอสกับนางไซคิ ซึ่งถือเป็นเรื่องราวที่แพร่หลายและเป็นที่รู้จักมากที่สุดเรื่องหนึ่งในเรื่องเล่าเกี่ยวกับเทพปกรณัมกรีกโรมัน เรื่องที่ว่านี้เป็นเรื่องเล่าที่แสนจับใจและให้มุมมองแง่คิดหลายประการตามแต่ที่ท่านผู้อ่านผู้ฟังจะคิดเห็นตามวิจารณญาณ เรื่องราวนนี้เป็นเรื่องความรักของเทพอีรอสเอง ซึ่งเขาถือเป็นผู้มีอำนาจในการบันดาลความรักให้เกิดขึ้นกับใครก็ได้ ส่วนนางไซคิ (Psyche) ซึ่งเป็นตัวเอกอีกตัวหนึ่งของเรื่อง ก็บังเอิญเป็นคำคำเดียวกันกับคำที่มีความหมายว่า จิตใจหรือดวงวิญญาณ ทำให้อาจกล่าวได้ว่า เทพปกรณัมกรีกอุปโลกน์สร้างนางไซคิขึ้นมา เพื่อหวังที่จะใช้ให้เป็นลักษณะของดวงวิญญาณก็เป็นได้ เรื่องเล่าในปกรณัมนั้นกล่าวไว้ดังนี้ว่า
กาลครั้งหนึ่งในกรีก มีกษัตริย์องค์หนึ่งมีธิดา 3 องค์ ซึ่งธิดาทุกองค์ล้วนมีสิริโฉมงดงาม แต่จะพบว่าแม้จะนำความงามของ 2 องค์พี่รวมกัน ก็ไม่ทัดเทียมเท่ากับความงามของธิดาองค์สุดท้องนี้ได้ ธิดาองค์สุดท้องนี้ทรงมีชื่อว่า ไซคิ ผู้มีความงามมากที่สุด และเป็นที่ลือเลื่องไปทั่วทุกถิ่น ใครต่อใครก็ต่างพากันยกย่องเทิดทูนเพราะความงาม จนลืมที่จะบูชาเทวีอโฟร์ไดท์ผู้เป็นเจ้าแม่แห่งความงามไปสิ้น ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ศาลของเจ้าแม่อโฟร์ไดท์เงียบเหงา ว่างเปล่า และวังเวง เจ้าแม่เองก็ว่างเปล่าเพราะไม่มีผู้ใดจะเข้าไปบวงสรวงได้ แม้แต่แขกบ้านแขกเมืองจากต่างถิ่นก็พากันเดินทางไปศาลเจ้าแม่ไซคิ เพื่อชื่นชมความงามของเจ้าแม่กันเสียหมด และเพราะเหตุผลนี้เองที่ทำให้เจ้าแม่อโฟร์ไดท์รู้สึกรังเกียจริษยาในตัวของเจ้าแม่ไซคิเป็นอย่างยิ่ง และคิดหวังจะกลั่นแกล้งให้นางไซคิตกต่ำ ด้วยความอัปยศ คนทั้งปวงจะได้ไม่ต้องไปยกย่องบูชาถึงนางต่อไปอีก ว่าแล้ว เจ้าแม่ก็เรียกอีรอสเทพบุตรมาสั่งถึงความประสงค์ให้บุตรรับทราบ และสั่งให้อีรอสไปหลอกล่อให้นางไซคิแอบหลงรักสัตว์อุบาทว์สักคนหนึ่ง อีรอสก็ทำตามที่เจ้าแม่สั่งเป็นอย่างดี แต่ผลลัพธ์ที่ปรากฏต่อมาในภายหลังกลับพบว่า สัตว์อุบาทว์ทรลักษณ์ที่นางไซคิจะต้องหลงรัก ก็ไม่ใช่ใครอื่นใดแต่เป็นน อีรอส นั่นเอง !
อุทยานของเจ้าแม่อโฟร์ไดท์ปรากฎมีน้ำพุอยู่ 2 แหล่ง แอ่งที่หนึ่งเป็นน้ำพุงน้ำหวาน ส่วนแอ่งที่สองเป็นน้ำพุน้ำขม น้ำพุหวานเป็นน้ำที่ใช้เพื่อสร้างความสดชื่นและเบิกบาน ในขณะที่น้ำขมใช้เพื่อสร้างความขมขื่นรือทุกข์ระทมในจิตใจ เมื่อครั้งแรก อีรอสได้ใช้กุมโฑตักน้ำจากน้ำพุทั้งสองชนิดละใบ จากนั้นได้นำไปยังห้องที่ไซคิที่กำลังหลับอยู่ ล้วอีรอสก็แอบนำเอาน้ำขมในกุณโฑรดประพรมไปที่ลงโอษฐ์ของไซคิ แล้วนำเอาปลายศรบันดาลความพิศวาสสะกิดสีข้างของนางในทันทีทันใด ทำให้ไซคิสะดุ้งตัวตื่นขึ้นมา ถึงแม้ว่าอีรอสจะไม่ได้เผยกายให้นางได้เห็น แต่ด้วยความลืมตัว ทำให้เธอเผลอทำศรสะกิดไปด้วยองค์ของเธอเองด้วยเหตุเพราะตกใจ ทำให้เธอเกิดตกหลุมรักนางไซคิเนื่อด้วยพลังของศรตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา จากนั้นเธอเอาเอาน้ำพุหวานมารดลงบนเรือนผมของไซคิ ก่อนที่จะโผบินจากไปจากที่นั้น
เมื่อเวลาผ่านพ้นไป ก็ยิ่งทำให้ไซคิรู้สึกเศร้า เหงา และเปล่าเปลี่ยวใจที่ไม่มีผู้ใดจะมาขอวิวาห์ด้วย ทุกสายตายังคงตะลึงในรูปโฉมที่งดงามของนางอยู่ และยังมีถ้อยคำยกย่องสรรเสริญนางยังอยู่บ้าง แต่ก็ไม่มีใครที่คิดจะเข้ามาสู่ขอนางไปเป็นคู่ชีวิต เพราะค่างก็พากันเกรงกลัวในตัวนาง เหตุการณ์นี้ทำให้นางสุดจะทน ในขณะที่ พี่สาวทั้งสองของนางก็ได้แต่งงานมีครอบครัวไปกับเจ้ากรีกต่างนครไปแล้ว ส่วนตัวนางไซคิเองนั้นยังคงโดดเดี่ยว เปลี่ยวใจอยู้เพียงผู้เดียว เวลาล่วงเลยต่อไปอีกไม่นาน บิดามารดาของนางก็เกิดอาการวิตกจริตเกรงว่าสาเหตุที่เป็นเช่นนี้คงน่าจะต้องอะไรบางอย่างที่บกพร่องไปแน่ หรืออาจเป็นเพราะตนเองได้กระทำสิ่งใดลงไปโดยขาดความคิด รู้เท่าไม่ถึงการณ์หรือไม่ ทำให้เทพเจ้าลงโทษให้เกิดปรากฏการณ์เช่นนี้ ทำให้ท้าวเธอตัดสินใจที่จะบวงสรวงเสี่ยงทายพยากรณ์ต่อเทพอพอลโล และเขาก็ได้รับคำพยากรณ์กลับมาว่า คู่ครองของนางหาใช่มนุษย์ปุถุชนธรรมดาไม่ แต่คู่ครองของนางในภายหน้านี้กำลังรอคอยนางอยู่บนยอดแห่งขุนเขาต่างหาก เขาผู้นี้เป็นอมนุษย์ที่ไม่มีมนุษย์หรือเทพองค์ใดจะสามารถขัดขืนหรือต้านทานกำลังได้เลย
หลังจากทราบคำพยากรณ์ก็ทำให้คนทั้งหลายและบิดามารดาของนางไซคิเกิดความโศกเศร้าเป็นอย่างมาด สุดที่จะหาอะไรมาเทียบได้ แต่ตัวนางเองก๋ไม่ย่อท้อ และเห็นว่าชะตากรรมกำหนดไว้แล้วว่าชีวิตของนางต้องเป็นเช่นนี้ นางก็จะต้องยอมรับโดยดี จากนั้นก็ให้บิดามารดาของนางจัดเตรียมสิ่งของเพื่อส่งนางขึ้นไปบนยอดเขาเพื่อหาเนื้อคู่ ซึ่งประกอบไปด้วยขบวนแห่แหนอย่างยิ่งใหญ่ ฝูงชนที่เดินตามขบวนแห่แหนนี้ล้วนมีใบหน้าที่เศร้าหมอง ห่อเหี่ยว อาลัย และครั้นเมื่อทั้งหมดขึ้นไปถึงบนยอดเขาแล้ว ทุกคนก็ต่างพากันกลับเหลือแต่เพียงนางไซคิอยู่เพียงผู้เดียว พร้อมด้วยดวงใจที่ละห้อยละเหี่ยมายิ่งขึ้นไปกว่าเดิม
นางไซคิยืนสะอื้นด้วยความว้าเหว่และเต็มไปด้วยความโศกเศร้าแต่เพียงลำพังอยู่บนชะง่อนหินแห่งหนึ่งบนยอดเขาลูกนั้น ทันไดนั้นเอง เทพเสฟไฟรัสผู้เป็นเจ้าแห่งลมตะวันตกก็ได้บรรจงโอบอุ้มร่างของไซคิขึ้นจากยอดเขา และหอบหิ้วนางร่องลอยมา ณ สถานแห่งหนึ่งที่เต็มไปด้วยพืชพรรณที่มีสีเขียวขจีห้อมล้อมตัวนางไปหมด รุกขพฤกษานานาพรรณจากหลายหลากชาติล้วนดูร่มรื่น ซึ่งเมื่อนางไซคีพยายามเหลียวมองรอบกาย ก็พบเห็นสถานที่แห่งหนึ่งที่ประกอบไปด้วยซุ้มไม้ที่ดูแปลกพิกล ด้วยความสงสัย นางจึงเดินเข้าไปในที่แห่งนั้น และได้พบเห็นธารน้ำพุใสที่ไหลรินดังธารของแก้วผลึก เมื่อเดินต่อไปก็ได้พบกับพระตำหนักแห่งหนึ่งที่ตั้งสูงตระหง่านอยูในที่แห่งนั้น นางไซคิรู้สึกมีกำลังใจเบิกบานและมีความอาจหาญมากขึ้น นางจึงได้เดินเข้าไปในพระตำหนักแห่งนั้น สิ่งที่นางพบเห็นในตำหนักล้วนทำให้นางเกิดความแปลกประหลาดใจ เพราะทัศนาภาพล้วนอันวิจิตร ยากที่จะหาที่ใดในโลกมนุษย์เปรียบได้ แต่นอกจากความสวยงามตระการตาแล้วก็หามีสิ่งมีชีวิตใดๆ ปรากฏอยู่ ณ ที่แห่งนั้นเลย
ในขณะที่กำลังชมภาพความงามทั้งมวลทั้งมวลภายในตำหนักแห่งนั้นอยู่ นางไซคิก็เกิดได้ยินเสียงบางเสียงที่กำลังพูดอยู่กับนางไม่ห่างออกไป แต่นางไม่เห็นตัวผู้พูด เสียงนั้นบอกว่า ข้าแต่นางนาฏผู้เป็นใหญ่ สิ่งทั้งปวงที่กำลังปรากฏแก่สายตาของท่านในที่นี้ล้วนเป็นสมบัติของท่านทั้งหมด พวกเราเจ้าของเสียงนี้ก็คือบริวารของท่าน ผู้ที่จะคอยปฏิบัติรับใช้ท่านตามคำสั่งทุกประการ ของให้ท่านจงวางใจในตัวพวกเราเถิด พวกเราจัดแจงหาห้องบรรทม และจัดการกระยาหารพร้อมสรรพด้วยรสชาติอันน่าพึงใจไว้แก่ท่านอย่างพร้อมเพรียงแล้ว ขอให้ท่านจงใช้ชีวิตตามอัธยาศัยเถิดเมื่อสิ้นเสียงนั้น นางไซคิก็ปฏิบัติตามคำเชื้อเชิญและรอคอยที่จะพบกับ อมนุษย์ที่จะมาครองคู่กับนาง ระหว่างที่ใช้ชีวิตอยู่บนนั้น นางไซคีได้ยินเสียงดนตรีทิพย์ที่บรรเลงขับกล่อมเป็นที่ไพเราะเพราะพริ้งเป็นอย่างยิ่ง แต่ อมนุษย์ผู้เคียงคู่นางก็ไม่อาจปรากฎตัวในเวลากลางวันได้ แต่หากเป็นเวลาใรยามราตรีที่มืดมิด อมนุษย์ผู้นั้นจึงจะมาหาและจะจากไปเมื่อใกล้รุ่ง นางไซคิไม่สามารถรับรู้ได้เลยว่าคู่ครองของนางมีรูปร่างหน้าตาเป็นย่างไร นางได้ยินแต่เพียงคำหวานที่อมนุษย์ผู้นั้นพร่ำพรอด ซึ่งก็สามารถจูงใจนางให้รู้สึกเคลิบเคลิ้มและรู้สึกถึงความเสน่หาไปได้
ตลอดเวลาที่นางไซคิครองรักอยู่กับอีรอสเป็นเวลาแรมเดือน นางไม่อาจรับรู้ได้เลยว่าคู่ครองของนางคือใคร แม้ว่านางจะอ้อนวอนให้เขาบอกว่าตนเองเป็นใครสักเท่าใด อีรอสก็ยังไม่ยอม ยิ่งกว่านั้นยังสั่งห้ามให้นางไซคีจุดไฟในยามราตรีหรือพยายามถามถึงชื่อของเธออีกเป็นอันขาด โดยได้ให้เหตุผลไว้ว่า เหตุใดเจ้าจึงต้องการเห็นข้า หรือว่าเจ้ายังคงสงสัยในความรักของข้าอยู่หรือไม่ หากวันใดที่เจ้าแลเห็นรูปร่างหน้าตาของข้า เจ้าอาจหมดความเทิดทูนหรือเกรงกลัวในรูปของข้าก็เป็นได้ ข้าเพียงอยากให้เจ้ารู้สึกรักใคร่ในตัวข้าในฐานะที่เป็นปุถุชนคนธรรมดาที่เสมอกัน ไม่อยากให้เจ้ารู้สึกเทิดทูนข้าในฐานะที่เป็นเทพที่สูงกว่าหรอกนะด้วยคำพูดที่ว่ามานี้ทำให้นางไซคิต้องยอมจำนนต่อเหตุผลของอีรอส ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา นางไซคีจึงไม่เซ้าซี้สอบถามความจากคู่ครองของนางอีกต่อไป
เวลาผ่าไป นางไซคีรู้สึกคิดถึงวงศาคนาญาติของนาง นางไซคิจึงขออนุญาตต่ออีรอสเพื่อเชื้อเชิญพี่สาวของนางได้มาเที่ยวชมในที่ตำหนักแห่งนี้ แม้ว่าอีรอสจะบ่ายเบี่ยงในครั้งแรก แต่ก็อนุญาตในที่สุด ทำให้พี่สาวทั้งสองของนางได้มีโอกาสขึ้นมาบนสถานที่แห่งนี้ได้ ครั้นมาพี่สาวทั้งสองขึ้นมาถึง ณ ยอดเขา ก็มีลมเสฟไฟรัสมาคอยพัดโบกโอบอุ้มสองนางนั้นให้เลื่อนลอยไปถคงยังตำหนักของไซคิ ซึ่งทำให้นางทั้งสองตกตะลึงในความวิจิตรงดงามเป็นอย่างยิ่ง และเมื่อน้องสาวได้พาทั้งคู่เข้าไปในตำหนัก ก็ยิ่งเพิ่มความพิศวงในความงามอันแสนวิจิตรตระการตาของการตกแต่งภายในตำหนักมากยิ่งขึ้นไปอีก เมื่อพวกเขาได้เจอกัน พี่สาวก็รีบถามเอาความจากนางไซคีว่าน้องสาวของตนอยู่กับอมนุษย์ผู้นี้ได้อย่างไร พร้อมได้รับรู้ว่าทั้งข้าทาสบริวารของน้องสาวในสถานที่แห่งนี้ก็มีเพียงแต่เสียง ไม่เคยเห็นตัว ซ้ำกว่านั้นคู่ครองของนางก็ไม่เคยปรากฎโฉมหน้าหรือบอกชื่อให้นางรับรู้เลย ทำให้สองนางพี่น้องพยายามยุยงน้องสาวถึงวิธีในการแอบลักลอบดูตัวคู่ครองของนาง เพราะหากรู้ว่าเป็นอมนุษย์ที่ทรลักษณ์จริงๆ จะได้ลงมือจัดการฆ่าเสีย
ไซคิจำเป็นต้องปฏิบัติตามคำเสี้ยมสอนของพี่สาวอย่างเสียมิได้ โดยนางได้จัดแจงหาตะเกียงและมีดดาบแอบซ่อนไว้ไม่ให้อีรอสเห็น ครั้งเมื่ออีรอสหลับสนิทแล้ว นางจึงแอบจุดตะเกียงเพื่อลุกขึ้นส่องดูสามี แต่ภาพที่นางไซคิเห็นก็ทำให้นางรู้สำนึกถึงความผิดที่นางได้กระทำโดยล่วงละเมิดคำสั่งของสามีไปเสียแล้ว เนื่องจากภาพที่ปรากฎอยู่ตรงหน้านางหาใช่อมนุษย์ไม่ แต่กลับเป็นองค์เทพที่สง่างามหาที่เปรียบมิได้ แลที่ปฤษฎางค์ของอังสาก็มีปีกติดอยู่ทั้งสองข้าง ทำให้นางรับรู้ได้ในทันทีว่าสามีของนางคือ อีรอส
ขณะที่นางกำลังถือตะเกียงและเขยิบเข้าไปดูหน้าสามีอยู่ใกล้ๆอย่างเพลินตานั้น บังเอิญว่าน้ำมันตะเกียงได้หยดลงบนผิวของอีรอส ทำให้อีรอสสะดุ้งตื่นขึ้นมาจากนิทราในทันที เมื่ออีรอสเห็นเหตุการณ์ดังนั้น ก็กางปีกออกโผบินไปทางช่องแกลในทันใด แม้ว่านางไซคิจะพยายามโผติดตามไปแต่ก็กลับตกลงกับพื้น เหตุการณ์ครั้งนี้ทำให้อีรอสรู้สึกโกรธนางไซคิเป็นอย่างมาก ถึงกับออกปากว่า ดูก่อนไซคิผู้โฉดเขลา เจ้าตอบแทนความรักที่ข้าให้ไปได้เพียงนี้เชียวหรือ เจ้าจงกลับไปหาพี่สาวทั้งสองของเจ้าที่เป็นผู้เสี้ยมสอนเช่นนี้เถิด ข้าจะลงโทษเจ้าโดยการลาจากเจ้าไปตลอดกาลนับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ความรักของเราคงดำรงอยู่ไม่ได้หรอก หากเจ้าปราศจากความไว้วางใจที่มีให้ต่อกันว่าแล้วอีรอสก็บินหายลับไปในอากาศ เมื่อนางไซคิคืนสติและเหลียวรอบกายก็พบว่าว่าทั้งตำหนักและอุทยานได้อันตรธานหายไปแล้ว หลงเหลือแต่นางที่กำลังยืนเดียวดายอยู่เพียงลำพัง พร้อมความทุกข์ระทม ว้าเหว่ที่เต็มจิตใจ จากนั้น ไซคิก็เดินทางออกจากที่นั่นเพื่อกลับไปหาพี่สาวทั้งสอง นางได้เล่าเหตุที่เกิดทั้งหมดให้แก่พี่สาวทั้งสองฟัง ซึ่งพี่ทั้งสองก็แกล้งทำเป็นเศร้าสลดต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น แต่ความจริงแล้วรู้สึกลิงโลดที่น้องสาวของตนตกสวรรค์เป็นอย่างมาก พี่สาวทั้งสองคบคิดกันเพื่อจะกลับไปยังสถานที่แห่งนั้นอีก เพราะคิดว่าอีรอสอาจจะเลือกนางคนใดคนหนึ่งในสองพี่น้องเพื่อแทนที่นางไซคิ นางทั้งคู่จึงพากันขึ้นไปบนยอดเขาแห่งนั้นอีกครั้ง พร้อมกับเรียกให้ลมเสฟไฟรัสมารับตัวลงไป แต่เมื่อลงไม่ได้รับคำสั่งจากอีรอส จึงไม่ยอมมารับตัวพวกเขาเหมือนดั่งแต่ก่อน และนางแต่ละคนโผตัวออกจากยอดเขาเพราะคิดว่าลมเสฟไฟรัสมาคอยรับตัวนางไปแล้ว ก็ทำให้นางทั้งคู่พลัดตกจากเขาและตายไปในทันที
ส่วนนางไซคิก็ออกพเนจรเพื่อเที่ยวตามหาสามีไปในสถานที่ต่างๆ เมื่อนางพบใครก็จะสืบถามดะไปเสียหมดว่าพบเห็นสามีของนางหรือไม่ เช่นครั้งหนึ่งที่นางได้พบแพนผู้เป็นเทพบุตรขาแพะ แต่เทพองค์นี้ก็ช่วยอะไรไม่ได้ นอกเสียจากคอยรับฟังเรื่องราวและกล่าวปลอบใจนางเท่านั้น จนวันหนึ่ง ในขณะที่นางเดินทางมาถึงศาลเจ้าแม่ดีมิเตอร์ เทวีผู้ครองการเก็บเกี่ยว นางเห็นว่าเคียว ข้าวโพด และเครื่องมืออื่นๆ ของเจ้าแม่ วางสุมกันอยู่อย่างเกะกะไม่เป็นระเบียบ นางจึงคิดอยากจะช่วยจัดข้าวของเสียใหม่ให้ดูเป็นระเบียบเรียบร้อยมากขึ้น เมื่อเจ้าแม่ดีมีเตอร์รับรู้ ก็บังเกิดความสมเพชสงสารในตัวนางไซคิที่ต้องมาอาภัพในความรักของนางเป็นอย่างยิ่ง เจ้าแม่จึงแนะนำให้นางไซคิเดินทางไปที่ศาลเจ้าแม่อโฟร์ไดท์ เพื่อจะได้บวงสรวงอ้อนวอนขอความเห็นใจจากเจ้าแม่ดูสักครั้งหนึ่ง
แต่ว่าเจ้าแม่อโฟร์ไดท์ก็ยังไม่หายเคืองแค้นต่อนางไซคิ และบริภาษเปรียบเปรยว่าว่ากล่าวนางต่างๆนานา จนทำให้นางรู้สึกช้ำใจ มิหนำซ้ำยังสั่งให้นางทำการอย่างหนึ่งซึ่งยากเหนือกว่าที่มนุษย์ธรรมดาจะทำได้ นั่นก็คือ ให้นางแยกเอาเมล็ดพืชนานาชนิดที่ปะปนกันอยู่ในยุ้งฉาง เพื่อจำแนกออกจากกันเป็นพวกๆ และสั่งให้ทำให้เสร็จก่อนค่ำเพื่อเก็บเอาไว้ให้นกพิราบของเจ้าแม่ได้กิน หากนางสามารถทำได้สำเร็จ เจ้าแม่ก็จยกโทษครั้งนี้ให้
นางไซคินั่งมองดูธัญชาติด้วยความท้อถอยและสิ้นความคิดว่าควรจพทำประการใด แต่ทันใดนั้นเอง ก็มีฝูงมดฝูงหนึ่งออกมาช่วยกันขนเมล็ดข้าวนานาชนิดเพื่อแยกกองเอาไว้เป็นพวกๆ ซึ่งมดฝูงนั้นก็มาตามคำสั่งของเทพอีรอสนั่นเอง ทำให้งานครั้งนี้สามารถสำเร็จได้ภายในเวลาที่กำหนด และเมื่อเจ้าแม่ลงมาจากเขาโอลิมปัสและเห็นว่างานครั้งนี้สำเร็จเรียบร้อย ก็มิได้ทำตามที่พูดไว้ก่อนหน้านี้ แต่นางกลับบอกว่าที่นางไซคิทำสำเร็จได้คงไม่ใช่ด้วยฝีมือของตนเองเพียงคนเดียวเป็นแน่ และรู้ว่าวผู้ที่มาช่วยนางคงมิใช่ใครอื่นนอกเสียจากอีรอสเพียงผู้เดียว ทำให้เจ้าแม่ยังไม่ยอมยกโทษให้ และใช้ให้นางทำการอีกอย่างหนึ่งแทน
คราวนี้ เจ้าแม่อโฟร์ไดท์สั่งให้นางไซคิข้ามแม่น้ำสายหนึ่งเพื่อไปถอนขนแกะซึ่งไม่มีเจ้าของ ที่ฝั่งตรงข้ามของแม่น้ำเพื่อนำมาถวายเจ้าแม่ ฝูงแกะเหล่านั้นล้วนมีขนเป็นทองคำซึ่งเป็นสิ่งที่เจ้าแม่พึงประสงค์เป็นอย่างมากที่สุด โดยนางไซคิจำเป็นต้องถอนขนแกะทุกตัวมาถวายให้จงได้ หลังจากรับคำสั่ง นางไซคิก็เดินทางไปถึงริมฝั่งแม่น้ำตั้งแต่ตอนเช้าตรู่ และได้ทำต้นอ้อริมฝั่งแม่น้ำเพื่อหน่วงกายนางเอาไว้ นางไซคิได้รับการช่วยเหลือจากเทพประจำแม่น้ำโดยแอบบอกความลับถึงวิธีที่ปลอดภัยที่จะไปนำเอาขนแกะทองคำมาให้ได้ ความลับที่ว่านี้มีอยู่ว่า ตั้งแต่ช่วงเวลาเช้าถึงเที่ยง แม่น้ำจะมีอันตรายเป็นอย่างมาก และฝูงแกะเหล่านั้นก็ดุร้ายเช่นกัน ถึงแม้นางจะสามารถข้ามแม่น้ำไปยังฝั่งตรงข้ามได้สำเร็จ ก็คงไม่วายถูกฝูงแกะเข้าทำลายจนเสียชีวิตเป็นแน่ แต่นางไซคิก็ไม่หมดความพยายาม เมื่อล่วงเลยเวลาเที่ยงไปแล้ว ทั้งฝูงแกะและแม่น้ำก็ดูสงบนิ่งมากขึ้น นางจึงค่อยๆข้ามแม่น้ำไป เมื่อนางข้ามไปถึงก็จะพบขนแกะทองคำที่ติดอยู่ตามพุ่มไม้ ให้นางเที่ยวเก็บเอาขนแกะทองคำเหล่านั้นจากสุมทุมพุ่มไม้ เถิด นางไซคิทำตามคำแนะนำของต้นอ้อทุกประการ ทำให้นางสามารถหอบเอาขนแกะทองคำจำนวนมาก มาถวายแก่เจ้าแม่อโฟร์ไดท์ได้สำเร็จ ทำให้เจ้าแม่ไม่สมหวังในการที่จะประทุษร้ายนางไซคิในครั้งนี้ เจ้าแม่จึงวางแผนต่อไปเพื่อหวังจะแกล้งหลอกใช้นางเพื่อทำธุระเป็นครั้งที่สาม
งานชิ้นที่สามที่เทวีอโฟร์ไดท์สั่งให้นางไซคิทำ ก็คือ ให้นางไปนำโถใบหนึ่งจากในยมโลกมาให่ได้ โดยนางต้องไปเฝ้าเพอร์เซโฟนีเทวีเพื่อทูลขอเครื่องประกอบความงามของเจ้าแม่ ก่อนจะให้บรรจุกลับมาในโถใบนี้ และที่สำคัญต้องนำกลับมาให้แก่ตนทันก่อนพลบค่ำวันนี้ คราวนี้นางไซคิเห็นว่านางคงต้องถึงแก่ความตายเป็นแน่ และคงหนีไม่พ้นเงื้อมือมัจจุราชอย่างแน่นอน แต่นางก็คิดในอีกแง่หนึ่งว่า คงจะดีเหมือนกันที่จะทำให้เรื่องราวทั้งหมดยุติลงเสียที และพยายามดั้นด้นเดินทางลงไปสู่ยมโลกที่มนุษย์ธรรมดาไม่สามารถทำได้ ว่าแล้ว นางจึงขึ้นไปบนยอดหอคอยสูง เพื่อหมายจะกระโดดลงมาให้ตายแบบทรมานน้อยที่สุด แต่แล้วในบัดดล นางก็พลันได้ยินเสียงหนึ่งในหอคอยที่ลอยมากระทบหูนางเข้า คำพูดที่ว่านี้เป็นคำปลอบใจและคำบอกเล่าเพื่อบอกทางการเดินทางลงสู่ยมโลกโดยลัดเลาะไปตามถ้ำ จากนั้นให้ลงเรือจ้างของเครอนเพื่อข้ามแม่น้ำที่คั่นตรุที่ประทับของเทพฮาเดสเอาไว้ และยังบอกวิธีในการหลีกเลี่ยงเซอร์บิรัสหรือสุนัขสามหัวไม่ให้นางถูกทำร้ายด้วย อีกทั้งยังกำชับว่าระหว่างที่ยังอยู่ในยมโลก นางจะต้องห้ามกินผลไม้ใดๆเป็นอันขาด หากจะทานก็ทานได้แต่อาหารที่ทำจากแป้งเท่านั้น และหากเพอร์เซโฟนีเทวีได้มอบโถให้แก่นางแล้ว ห้ามนางเปิดดูโถนั้นเป็นอันขาด ซึ่งนางไซคิก็ได้ปฏิบัติตามคำแนะนำของเสียงลึกลับนั้นอย่างเคร่งครัดทุกประการ เว้นแต่ข้อความสุดท้ายที่นางไม่สามารถทำได้ เพราะนางไซคิคิดว่าในโถใบนั้นคงจะบรรจุเอาความงามเอาไว้ หากนางเปิดโถออกดูก็คงจะทำให้ความงามพลุ่งขึ้นมาเสริมให้ตัวนางมีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้นด้วยความอยากรู้อยากเห็น จนลืมเสียงกำชับปริศนา ทำให้นางเปิดโถออกดู และทันใดนั้นเองนางก็ล้มสลบแน่นิ่งไปตลอดชีวิต เพราะสิ่งที่บรรจุอยู่ในโถมิใช่ความงามแต่ประการใด แต่เป็นความหลับในยมโลกที่ทำให้นางต้องสูญสิ้นชีวิตตลอดไป

ฝ่ายอีรอสซึ่งยังคงอยู่ในอำนาจพิษศรกามของตัวเองและหายโกรธในตัวนางไซคิแล้ว ก็รับรู้ว่านางไซคิกำลังประสบเคราะห์กรรมอยู่ และไม่สามารถเดินทางออกจากบาดาลได้ เพราะเผลอเปิดเอาความหลับออกดู อีรอสจึงเก็บเอาความหลับกลับคืนใส่โถ แล้วใช้เอาปลายศรสะกิดเบาๆไปที่ตัวนาง ทำให้นางสามารถฟื้นตื่นจากวิสัญญีภาพได้ ทันใดนั้นเอง อีรอสก็ได้ตัดพ้อชี้เพื่อชี้ให้นางไซคิเห็นโทษของความสอดรู้สอดเห็น ว่าบังเกิดภัยให้แก่นางถึงสองครั้งสองหนแล้ว จากนั้นก็ให้นางไซคิปฏิบัติภารกิจที่ได้รับมอบจากจากเจ้าแม่อโฟร์ไดท์ต่อให้เสร็จ ส่วนตัวอีรอสเองจะขึ้นไปทูลขอต่อเทพซูส ให้ช่วยเกลี้ยกล่อมให้เจ้าแม่อโฟร์ไดท์ช่วยละเว้นโทษให้นางไซคิเสียที ซึ่งเทพซูสก็ได้ให้ตามที่อีรอสขอ หลังจากที่เจ้าแม่อโฟร์ไดท์ยอมละเว้นโทษแก่นางไซคิแล้ว เทพซูสก็ได้ประทานน้ำอมฤตให้นางไซคิดื่ม ซึ่งมีผลให้นางไซคิสามารถอยู่ยืนยาวเป็นอมตะ และได้ครองรักกับอีรอสตลอดไปโดยไม่ต้องพลัดพรากจากกันอีกต่อไป


http://www.tumnandd.com/

ลูซิเฟอร์ (Lucifer) จอมมารแห่งนรกของชาวโรมัน


ลูซิเฟอร์ (Lucifer) จอมมารแห่งนรกของชาวโรมัน




ลูซิเฟอร์ (Lucifer) ถือเป็นจอมมารแห่งนรก ที่มีชื่อเสียงค่อนข้างโด่งดังเป็นอย่างมาก ทั้งนี้ก็เป็นเพราะลูซิเฟอร์ อาจจะมีบทบาทในพระคัมภีร์หลายประการ โดยคำว่าลูซิเฟอร์นั้น เป็นภาษาละติน มีผสมจากคำ 2 คำ ได้แก่ “Lux” ที่หมายถึง แสงสว่าง และ “Ferrer” ที่หมายถึง ผู้นำมาหรือผู้ถือ เมื่อนำเอาทั้งสองคำมารวมกันก็จะมีความหมายว่า ผู้นำมาซึ่งแสงสว่างหรือแปลง่ายๆตามภาษาชาวบ้านว่า รุ่งอรุณหรือ ดาวแห่งความแสงสว่าง”  ทั้งนี้ก็เพราะ ลูซิเฟอร์เป็นอดีตอัคระเทวทูตที่เป็นผู้ถูกสร้างขึ้นมาจากแสงสว่าง  มีเป็นใหญ่รองลงมาจากพระเป็นเจ้า ซึ่งอาจถือได้ว่า เป็นอัคระเทวทูตที่ยิ่งใหญ่มากที่สุด ณ เวลานั้นเลยก็ได้ แต่ด้วยความหลงในอำนาจที่คิดว่าตนเองยิ่งใหญ่เหนือผู้ใด จึงทำให้ลูซิเฟอร์คิดก่อการกบฏเพื่อหักหลังพระเป็นเจ้า จนท้ายที่สุดก็ถูกลงโทษให้ตกจากสวรรค์ และกลายมาเป็นปีศาจในที่สุด
ตำนานของชาวฮิบรูกล่าวไว้ว่า ลูซิเฟอร์ได้กระทำผิดเพราะถูกยุแยงจากซาตาน (ตามตำนานนี้ ฮิบรู ลูซิเฟอร์ และ ซาตาน จะเป็นคนละคนกัน) โดยในพระคัมภีร์ของฮิบรูนั้น ซาตานถือเป็นหนึ่งในอัคระเทวฑูตที่ชื่อว่า Satan-Sataniel (หรือSamael?) ด้วย และด้วยความที่ซาตานอยากจะเป็นที่หนึ่งในจักรวาล จึงได้ยุยงส่งเสริมให้เทพเจ้าองค์อื่นกลายเป็นมารร้ายแทนตัวเอง
ส่วนตำนานของชาวคริสต์ที่อยู่ในคัมภีร์ The Old Testament ก็ได้นิยามความหมายของ Helel เป็น ลูซิเฟอร์ และได้นำไปเชื่อมโยงกับปีศาจร้ายที่มีรูปกายเป็นสัตว์เลื้อยคลาน โดยสัตว์ร้ายนี้จะแอบเข้ามาในสวนอีเดนเพื่อที่จะหลอกลวงอดัมกับอีฟ
ส่วนในยุคกลาง นักบุญเจอโรม (St.Jerome) ผู้เป็นหลวงพ่อในศาสนะจักร มีแนวความคิดที่ว่า ลูซิเฟอร์ ไม่ควรจะเป็นชื่อของ ปีศาจจึงได้เปลี่ยนมาใช้เป็นคำว่า ซาตานแทน แต่ในเวลาภายหลัง ทั้งสองชื่อก็ถูกรวมมาเป็นคนคนเดียวกัน ดังที่สามารถพบเจอได้ในพระคัมภีร์บางเล่ม ที่ชื่อของลูซิเฟอร์และซาตานนั้น ถูกใช้แทนกันเสมอ
ตำนานกรีกได้เปรียบคำว่า ลูซิเฟอร์ เฉกเช่นเดียวกับดาววีนัส เนื่องจากเดิมทีแล้ว ลูซิเฟอร์เป็นชื่อเดิมของดาววีนัส ในขณะที่บางตำนานของชาวเพแก้น หรือ วิคคา ก็บอกเอาไว้ว่า หลังจากที่พระเจ้าได้สร้างมนุษย์ขึ้นมาแล้ว ก็มีความใส่ใจดูแลในตัวพวกมนุษย์มากกว่าผู้อื่นได และแน่นอนว่ามากกว่าตัวลูซิเฟอร์เองด้วย ทำให้ลูซิเฟอร์เกิดความรู้สึกน้อยเนื้อต่ำใจ และเป็นผู้นำในการก่อกบฏต่อพระเป็นเจ้า แต่ในบางความเชื่อของชาวเพเก้น ก็บอกเล่ากันว่า ลูซิเฟอร์นั้นอาศัยอยู่ที่ทวีปยุโรปและเอเชีย
ทุกวันนี้ ได้เกิดมีลัทธิใหม่ที่ยกให้ลูซิเฟอร์เป็นเทพเจ้าเหนือพวกเขา และเรียกชื่อตัวเองว่า ลูซิเฟอเรี่ยน (Luciferains)” ซึ่งล้อตามชื่อของพระศาสดา Lucifer Calaritanus บิช๊อปของลูซิเฟอเรี่ยน มีความเชื่อว่า พระเยซูคริสต์ไม่ใช่เทพผู้ถูกเลือก แต่ก็คือ ลูซิเฟอร์นั่นเอง (คล้ายกับลัทธิการบูชาซาตานหรือปีศาจ) ในคัมภีร์ของกลุ่มคเหล่านี้ ได้บอกเล่าเรื่องราวเหตุการณ์เรื่อง ก่อนจะร่วงหล่นหรือ “Before the fall” เอาไว้ว่า หลังจากที่พระเจ้าสร้างมนุษย์ขึ้น ลูซิเฟอร์ก็เกิดความรักใคร่เอ็นดูในความใสซื่อบริสุทธิ์ของมนุษย์เป็นอย่างมาก แต่เนื่องจากมนุษย์มีความใสซื่อเกินไป จึงทำให้มนุษย์ไม่รับรู้ถึงตัวตนของพระเป็นเจ้า ตำนานที่กล่าวไว้ในคัมภีร์มีบันทึกไว้ว่า พระเจ้าเสกงูออกมาเพื่อล่อลวงมนุษย์ให้กินผลไม้แห่งปัญญา และเมื่อมนุษย์ได้รับประทานผลไม้ชนิดนี้เข้าไป ก็จะทำให้รู้สึกถึงพระเป็นเจ้าได้มากขึ้น มนุษย์จึงได้ขับไล่ออกจากสวนอีเดนไป หลังจากที่ลูซิเฟอร์ทราบเรื่อง ก็รู้สึกโกรธและคิดที่จะก่อกบฏขึ้น เรื่องนี้ถูกใช้เป็นเครื่องมือในการโน้มน้าวจิตใจของสาวกลัทธิลูซิเฟอเรี่ยน ซึ่งภายหลังได้กลายมาเป็นลัทธินอกรีต และกระจัดกระจายอออกไปตามถิ่นฐานต่างๆ บางกลุ่มคนก็หันพึ่งยาเสพติด หรือเสียงเพลง เพื่อใช้ในการกล่อมประสาทของตนเอง ซึ่งเหตุผลที่ลูซิเฟอร์ถือเป็นตัวแทนของบาปแห่งความหยิ่งพยอง ก็เป็นเพราะเขาคิดว่าตนเองเก่งกาจและมีพลังเหนือใคร จนนำพาความหลงผิด และคิดก่อกบฏขึ้น จนในที่สุดก็กลายมาเป็นสงครามสวรรค์ครั้งที่ยิ่งใหญ่ที่สุดนั่นเอง โดยศึกครั้งนี้ ลูซิเฟอร์ได้จูงใจเทพ 2 ใน 3 (หรือบางก็ว่า 3 ใน5) ของเทพทั้งหมดบนสวรรค์ เพื่อมาต่อสู้กับกองทัพสวรรค์ ที่มีแม่ทัพเป็นอัคระเทวฑูตมิคาเอล แต่สุดท้ายก็ได้แพ้พ่ายไปในที่สุด

ว่ากันว่า ลูซิเฟอร์มักจะปรากฏตัวในลักษณะที่เป็นมังกรหรือสิงโต และมีลูกสมุนที่ชื่อว่า Satanackia และ Agalierap  ผู้จงรักภักดีอยู่ข้างกายเสมอ เปรียบเสมือนแขนทั้งสองข้างของลูซิเฟอร์ก็ว่าได้ ส่วนสัญลักษณ์ที่ใช้แทนตัวลูซิเฟอร์ก็จะเป็น กางเขนกลับหัว โดยมีเลขประจำตัวของลูซิเฟอร์หรือเลขแห่งความโชคร้าย  เป็น 666  ซึ่งแตกต่างจากเลขแห่งความโชคดีของพระคริสต์ ที่เป็น 333


cr.http://www.tumnandd.com/

ตำนานแฟรงเก็นสไตน์ (frankenstein)


ตำนานผี แฟรงเก็นสไตน์ (frankenstein)



ประวัติความเป็นมา
แฟรงเก็นสไตน์ไม่ใช่ชื่อของผีดิบสุดขี้เหร่ และมีน็อตโผล่ออกมาจากขมับข้างศีรษะทั้งสองข้างแต่อย่างใด แต่ชื่อนี้เป็นชื่อของนายแพทย์และนักวิทยาศาสตร์ผู้ก่อร่างสร้างตัวมันขึ้นมา ซึ่งนั่นก็คือ ดร.แฟรงเก็นสไตน์ นั่นเอง
ส่วนในหนังสือที่ แมรี่ เชลลี่ย์ ประพันธ์เอาไว้ เธอกลับเรียกเจ้าผีดิบหน้าตาไม่หล่อตัวนี้ว่า มอนสเตอร์” ( Monster ) หรือที่แปลว่า อสูรกาย เดิมทีเจ้าแฟรงเก็นสไตน์ไม่ได้มีฐานะเป็นบารอน แต่ตำแหน่งที่สูงส่งนี้ได้มาในตอนหลังที่นิยายเรื่องดังกล่าวถูกนำมาสร้างเป็นภาพยนตร์สยองขวัญ และเพื่ออยากจะให้ท่านบารอนแฟรงเก็นสไตน์เป็นคู่ต่อสู้ที่สมศักดิ์ศรีกับท่านเคาท์ แดร๊คคูล่า เนื้อเรื่องในภาพยนตร์จึงถูกดัดแปลงและต่อเติมซะแทบจะไม่มีเค้าโครงของเรื่องเดิมเหลืออยู่เลย
เจ้าผีดิบแฟรงเก็นสไตน์ตัวนี้ ถูกสร้างขึ้นมาจากวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งอาศัยการผ่าตัดสมอง เปลี่ยนชิ้นส่วน ของอวัยวะ ตัดๆและเย็บๆไปทั่วทั้งตัวโดยเฉพาะรอยเย็บตามใบหน้า ที่เป็นเหตุผลให้เจ้าผีดิบร้ายตัวนี้มีหน้าตาที่ค่อนข้างอัปลักษณ์และไม่หล่อเหล่าอย่างเคาท์แดร๊คคูล่า และด้วยความที่เจ้าผีดิบแฟรงเก็นสไตน์มีหน้าตาที่เต็มไปด้วยรอยแผลเช่นนี้ จึงช่วยเพิ่มความน่ากลัวสยดสยองให้มากขึ้นอีกหลายเท่าตัวเลยทีเดียว

จุดกำเนิดของนิยายสยองขวัญแฟรงเก็นสไตน์
ผู้สรรค์สร้างเจ้าผีดิบแฟรงเก็นสไตน์ตัวนี้ขึ้นมา ก็คือ แมรี่ เชลลี่ย์ ซึ่งเป็นนักประพันธ์วัยรุ่นสาวสวย ที่มีอายุเพียง 20 ปีเศษๆ และเธอเป็นภรรยาของ เปอร์ซี่ เชลลี่ย์ ซึ่งเป็นยอดกวีที่แต่งนิยายโรแมนติก ผู้เป็นเพื่อนคนสนิทของท่านลอร์ดไบรอน ยอดกวีชื่อดังเรื่องนิยายรัก
เรื่องราวของผีดิบตนนี้เกิดขึ้นอย่างบังเอิญ เมื่อศิลปินทั้งสามได้เดินทางไปท่องเที่ยวด้วยกันที่ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ แต่ในช่วงเวลาที่ทั้งสามคนไปเที่ยวกลับมีภูมิอากาศอันแสนเลวร้าย ทำให้พวกเขาอดออกไปชื่นชมดินแดนอันแสนงดงาม และต้องนั่งจับเจ่าอยู่แต่ในบ้านพักแทน
ระหว่างที่ไม่มีอะไรทำ ทั้งสามจึงชวนกันแต่งนิยายผีสยองขวัญกันขึ้นคนละหนึ่งเรื่องเพื่อแก้เซ็ง ซึ่งมีเพียงแมรี่เชลลี่ย์ ผู้เดียวเท่านั้นที่สามารถแต่งนิยายเรื่องผีดิบแฟรงเก็นสไตน์ ขึ้นมาได้จนจบเรื่อง และตั้งแต่วันนั้นในช่วงปี ค.ศ. 1816 หรือ พ.ศ. 2359 นิยายเรื่องดังกล่าวก็มีชื่อเสียงโด่งดังไกลไปทั่วโลกตราบจนถึงทุกวันนี้

อิทธิฤทธิ์ของแฟงเก็นสไตน์
ผีดิบแฟรงเก็นสไตน์เป็นผีดิบที่มีวัตถุประสงค์การสร้างเหมือนกับผีดิบทั่วไป นั่นคือ ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อทำตามคำสั่งของเจ้านาย ผีดิบแฟรงเก็นสไตน์เป็นผีที่มีพละกำลังมากมายมหาศาล สามารถทำงานได้ต่อเนื่องแบบไม่รู้จักเหน็ดรู้จักเหนื่อย แม้จะไม่มีอาหารหรือเลือดพลังของมันก็ไม่มีวันหมดไปเลย  อีกทั้งยังยิง แทง หรือฟันไม่เข้าเหมือนกับลงยันต์เอาไว้

วิธีต่อสู้และป้องกันเจ้าแฟรงเก็นสไตน์
เนื่องจากผีดิบแฟรงเก็นสไตน์ถูกสร้างขึ้นด้วยวิธีทางวิทยาศาสตร์ มันจึงไม่เกรงกลัวไม้กางเขน กระเทียม พระเครื่อง หรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์อื่นใด แต่ถ้าโดนอาวุธขนาดใหญ่อย่างจรวดหรือขีปนาวุธเข้าอย่างจัง ก็คงไม่เหลือชีวิตกลับมาได้เหมือนกัน

การถ่ายทอดหรือการรักษาเผ่าพันธุ์
ผีดิบแฟรงเก็นสไตน์ไม่ได้ถูกสร้างจากสิ่งมีชีวิต การขยายพันธุ์ของมันจึงแตกต่างออกไปจากผีตัวอื่นๆ ผีดิบแฟรงเก็นสไตน์อาจจะขยายเผ่าพันธุ์โดยการนำศพมาผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะ แต่ก็ยังคงเป็นเพียงข้อสันนิษฐานเท่านั้น เพราะยังไม่มีใครรับรองได้ว่าการใช้วิธีผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะจะทำให้คนตายฟื้นคืนชีพกลับขึ้นมาอีกครั้งได้ แต่คาดการณ์ว่าอาจจะมีการทดลองอย่างลับๆอยู่อย่างต่อเนื่อง


cr.http://www.tumnandd.com/

ปีศาจจิ้งจอกเก้าหาง

ปีศาจจิ้งจอกเก้าหาง ( Nine Tail Fox 九尾の妖狐, คีวบิโนะโยโกะ)




กล่าวถึงปีศาจในตำนานญี่ปุ่นโดยมีความหมายดังนี้ คำว่า คิว () มีความหมายว่า เก้า, บิ () มีความหมายว่าหมาย หาง ส่วน (โยโกะ) มีความหมายว่า ปีศาจจิ้งจอก โดยมีความหมายถึง คิทซึเนะ () – หรือจิ้งจอกที่มีพลังพิเศษในนิทานพื้นบ้านของญี่ปุ่น
ปีศาจจิ้งจอกเก้าหางมีที่มาจากหลายประเทศ ทั้งจากอินเดีย, จีน และญี่ปุ่น แต่ก็นับเป็นปิศาจตัวเดียวกัน ซึ่งคาดว่าปีศาจตัวนี้น่าจะมีการสืบทอดวัฒนธรรมผ่านจากประเทศอินเดียไปยังจีนตามแนวเส้นทางสายไหม และส่งต่อวัฒนธรรมไปยังประเทศญี่ปุ่นต่อ

จิ้งจอกเก้าหางของจีน
ตำนานเรื่องจิ้งจอกเก้าหางของประเทศจีน ปรากฏอยู่ในเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับไสยศาสตร์ อย่างเรื่อง ฮ่องสิน ซึ่งเป็นเรื่องที่กล่าวถึงภูตผีปิศาจ เรื่องราวเริ่มต้นจาก พระเจ้าโจ้วหวาง (ติวอ๋อง) แห่งราชวงศ์ซางได้เดินทางไปวิหารของเจ้าแม่หนวี่วา (หนึงวาสี) เพื่อสักการะบูชา ซึ่งรูปเคารพเจ้าแม่จะมีผ้าแพรกั้นใบหน้าอยู่ไม่ให้มองเห็น แต่พอดีที่มีลมพัดผ่านมา จึงเปิดผ้าแพรออกและแสดงใบหน้าของโจ้วหวาง เมื่อพระองค์ได้เห็นใบหน้าที่แท้จริงของรูปเคารพเจ้าแม่หนวี่วา ก็ตกหลุมรักในความงดงาม และเอ่ยปากออกมาว่า ความงดงามของเจ้าแม่ขนาดนี้ควรอย่างยิ่งที่จะได้เป็นมเหสี
แต่เมื่อเจ้าแม่หนวี่วาได้ยินคำพูดดังกล่าวนั้น ก็ทรงกริ้วมาก และส่งให้ปิศาจจิ้งจอกเก้าหาง  ปิศาจพิณ และปิศาจไก่ มาลงโทษโจ้วหวาง จนทำให้เกิดความลุ่มหลง ในที่สุดจนบ้านเมืองของเขาก็ล่มสลาย ทั้งนี้ ได้คุ้มครองไม่ให้ราษฎรต้องได้รับอันตรายแต่อย่าใด
ในเวลานั้น มีนางงามที่ชื่อว่า ต๋าจี ผู้เป็นลูกสาวของเจ้าเมืองเล็กๆ เมืองหนึ่ง ถูกส่งตัวเข้ามาเป็นพระสนมในวังของโจ้วหวางพอดี แม้ว่าต๋าจี จะเป็นหญิงสาวที่มีหน้าตาและรูปร่างที่งดงามเป็นอย่างมาก แต่ก็มีความอาภัพในชีวิตเป็นอย่างมาก จิ้งจอกเก้าหางจึงได้แอบดักฆ่าต๋าจี และแฝงกายเป็นต๋าจีแทน เพื่อจะได้แอบเข้าวัง
หลังจากที่โจ้วหวางได้เจอกับต๋าจี ก็รู้สึกชอบพอใจในตัวต๋าจีที่มีรูปโฉมสวยงามราวกับเจ้าแม่หนวี่วาเป็นอย่างมาก ต๋าจีมีวาจาที่ไพเราะอ่อนหวานอย่างเช่นเทพธิดาจากสรวงสวรรค์ จนไม่มีหญิงใดในแผ่นดินที่จะเทียบความงามได้เลย จิ้งจอกเก้าหางพยายามทำให้โจ้วหวางหลงรักในรูปโฉมของนางจนยากที่จะถอนตัว ซึ่งวิธีการที่จิ้งจอกเก้าหางพยายามทำก็คือ การร้องเพลงขับกล่อม เล่นดนตรีให้ฟัง และร่ายรำด้วยท่าทางที่งดงามให้ดู บวกกับความงดงามที่นางมีเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว จึงทำให้โจ้วหวางลุ่มหลงในตัวนางอย่างยากที่จะถอนตัว  จากนั้น จิ้งจอกเก้าหางก็ได้พยายามยุยงให้โจ้วหวางกระทำแต่เรื่องชั่วร้าย และฆ่าคนอย่างเลือดเย็นไปเป็นจำนวนมากเสมอมา
สุดท้าย ต๋าจี หรือจิ้งจอกเก้าหาง ก็ได้บอกให้โจ้วหวางสร้างหอสอยดาวขึ้นมา ซึ่งเหตุการณ์นี้ทำให้ราษฎรเกิดความทุกข์ยาก เดือดร้อน และล้มตาย ไปเป็นจำนวนมากมายมหาศาล เนื่องจากราษฎรจะต้องถูกเกณฑ์มาใช้แรงงานเพื่อสร้างหอสอยดาวนี้ขึ้นมา
แต่สุดท้าย ก็มี เจียงจื่อหยา มาช่วยกำจัดปิศาจทั้งสามตัวนี้ บุคคลผู้นี้ได้รับการฝึกวิชาบนภูเขาจนกลายเป็นบุคคลวิเศษที่ไม่มีใครสูได้ เจาได้รับบัญชาจากสรวงสวรรค์เพื่อลงมาขจัดความทุกข์เข็ญของเหล่าราษฎร โดยมาพร้อมกับนาจาศิษย์เอก
ปิศาจทั้งสามถูกคุมตัวไปตัดสินโทษโดยเจ้าแม่หนวี่วา แต่จิ้งจอกเก้าหางกลับเห็นว่า เหตุใดตนจึงต้องได้รับโทษ ทั้งที่สามารถทำงานที่เจ้าแม่มอบหมายไว้ได้ เจ้าแม่หนวี่วาจึงตอบกลับไปว่า พระองค์นั้นใช้ให้จิ้งจอกเก้าหางไปทำลายแต่เพียงโจ้วหวางเท่านั้น มิได้สั่งให้ไปทำร้ายร่างกายผู้คนมากมายเช่นนี้ การกระทำของจิ้งจอกเก้าหางจึงเป็นการทำเกินกว่าคำสั่ง สมควรจะต้องถูกลงโทษ
ปิศาจพิณ และปิศาจไก่ ถูกลงโทษจนถึงแก่ความตาย มีเพียงจิ้งจอกเก้าหางเท่านั้นที่สามารถหลบหนีการลงโทษไปได้ โจ้วหวางรู้สึกเศร้าโศกเสียใจยิ่งนักเมื่อต้องสูญเสียเมียที่รักไป จึงทำการเผาทำลายหอสอยดาวทิ้ง และสุมตัวเองจนตายในกองเพลิง

จิ้งจอกเก้าหางของญี่ปุ่น
กล่าวถึงตำนานของญี่ปุ่นไว้ว่า จิ้งจอกเก้าหางเป็นปิศาจที่เข้ามาแฝงตัวในราชสำนักของญี่ปุ่นในช่วงรัชสมัยของจักรพรรดิ์โทบะ หลังจากที่จิ้งจอกเก้าหางหลบหนีออกมาจากอินเดียและจีนได้แล้ว ก็แอบแฝงตัวเข้ามาในร่างของหญิงสาวรูปงดงามที่มีชื่อว่า ทามาโมะ มาเอะ
ด้วยความสวยของนาง ทำให้จักรพรรดิ์โทบะเกิดความลุ่มหลงจนถอนตัวไม่ขึ้น จนเวลาผ่านไป สุขภาพร่างกายของจักรพรรดิ์โทบะก็ทรุดโทรมลงทุกวันๆ จึงได้มีการทำพิธีปัดรังควานโดยการอัญเชิญนักพรตจากหอองเมียวมาช่วยทำพิธี จนได้ทราบว่า ขณะนี้ในวังมีปิศาจจิ้งจอกเก้าหางสีทองแฝงตัวอยู่นั่นเอง
เมื่อความจรองเปิดเผย ทามาโมะ มาเอะ จึงแปลงร่างกลับกลายเป็นเป็นจิ้งจอกสีทองตัวใหญ่โตที่มีหางยาวเก้าหาง แล้วจึงเหาะขึ้นไปบนท้องฟ้าเพื่อหลบหนีไป แต่กองทหารของแงค์จักรพรรดิ์โทบะก็สามารถไล่ตามไปได้ เมื่อถึงที่ราบสูงนาสุ ก็เกิดการต่อสู้ระหว่างกองทหารและปิศาจจิ้งจอกเก้าหางขึ้น แต่สุดท้ายกองทหารก็สามารถปราบจิ้งจอกเก้าหางลงได้สำเร็จ และกลายเป็นหินเซ็ทโชเซกิ ซึ่งปัจจุบันกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีเลื่องชื่อแห่งหนึ่งของญี่ปุ่น

อย่างไรก็ตาม พบว่ามักเกิดความสับสนสำหรับผู้ที่เริ่มต้นศึกษาตำนานของปีศาจจอกเก้าหางกับตำนานของเทพเจ้าแห่งจิ้งจอก อินาริ (稲荷, Inari หรือ Oinari) ซึ่งความเป็นจริงแล้ว ถือเป็นคนละเรื่องกัน ในส่วนของอินารินั้น ถือเป็น คามิ (, Kami) หรือเทพเจ้าองค์หนึ่งของศาสนาชินโต ซึ่งตามตำนานแล้วเป็นศาสนาดั้งเดิมในประเทศญี่ปุ่น


cr.http://www.tumnandd.com/